วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ประวัติคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก

คอมพิวเตอร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
คอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้เราเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหล่าสิ่งประดิษฐ์และเครื่องจักรกลที่ช่วยการคำนวนที่ยังไม่ได้นำความสามารถทางอเล็กทรอนิกส์มาใช้ ซึ่งเราขอกล่าวสรุปถึงชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการกำเนิดคอมพิวเตอร์
ในปี ค.ศ. 1642 Blaise Pascal นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตเครื่องบวกเลขขึ้น โดยใช้หลักการของการหมุนของฟันเฟือง และการทดแทนเลข เมื่อฟันเฟืองหมุนไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 โชว์บอกที่หน้าปัด ซึ่งมีเลขอยู่ 8 หลัก สิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้เรียกว่า Pascaline Calculator
ในปี ค.ศ. 1671 นักปรัชญาชาวเยอรมันคือ Softfriend Wilhelm von Leibniz ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลข Pascal ให้ทำงานได้คล่องตัวโดยไม่ติดขัด และยังสามารถทำการคูณและหารได้ด้วยหลักของการบวก (และลบ) กันหลาย ๆ ครั้ง
Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ได้ประดิษฐ์เครื่อง Difference engine ขึ้นในปี ค.ศ. 1822 เพื่อใช้ในการคำนวณค่าโพลิโนเนียล (Polynomial) จากนั้นเขาก็ได้หันเหไปประดิษฐ์เครื่อง Analytical engine ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์
ในปี ค.ศ. 1896 Hollerith ได้ตั้งบริษัท Tabulating Machine Company เพื่อขายเครื่องจักร และบัตรเจาะรู เพื่อใช้งานทางด้านธุรกิจ่างๆ และในปัจจุบันบริษัทของ Hollerith นี้ก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทไอบีเอ็ม
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น George Boole นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบพีชคณิตแบบใหม่ได้แก่ Boolean Alyebra ซึ่งใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 1 และ 0 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกะพื้นฐาน

กำเนิดเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือทั้งลายที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ล้วนเป็นเครื่องจักรซึ่งประกอบด้วยฟันเฟือง คาน ลูกรอก ซึ่งส่วนมากมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก จึงทำให้การทำงานมีความช้าและผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้นในยุคต่อมาของกำเนิดคอมพิวเตอร์จึงเป็นการคิดค้นที่หันเข้าสู่เครื่องจักรที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักน้อยลง
ในปี ค.ศ. 1931 Howard H.Aiken ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นที่มหาลัยฮาร์วาร์ด โดยอาศัยแนวคิดของบัตรเจาะรูเป็นสื่อนำข้อมูลเข้า พร้อมด้วยการทำงานแบบเครื่องจักรกลไฟฟ้า และการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้เสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1944 ภายใต้การสนับสนุนด้านการเงิน และบุคลากรจากไอบีเอ็ม Mark I จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า IBM. Automatic Setwence Controlled Calculator
ในปี ค.ศ. 1939 Dr. John V. Atansoft นักฟิสิกส์แห่ง iowa state college ได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญแก่วงการคอมพิวเตอร์ แต่ผลงานมักจะถูกหลงลืมและไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญถึงบ่อยนัก อย่างไรก็ดีผลงานของ Atanasoft ซึ่งเรียกว่า ABC หรือ Atanasoft-Berry Computer ถือได้ว่าเป็นเครื่องดิจิตอลคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแรกของ โดยได้นำหลอดสูญญากาศ (acaum tube) มาใช้แทนเครื่องจักรกลไฟฟ้า

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951 – 1958)
Eckert และ Mauchly ผู้พัมนาเครื่อง ENIAC นั้นนอกจากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีและยังมีหัวทางธุรกิจด้วย โดยเขาทั้งสองได้จัดตั้งบริษัท Eckert – Mxachly Computer Corporation ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความจริงว่าคอมพิวเตอร์สามารถถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้ในงานอื่นๆ
ในปี ค.ศ. 1950 เขาได้ขายธุรกิจของเขาให้แก่บริษัท Remington Rand Corporation ซึ่งได้สร้างเครื่อง UNIVAC I ขึ้นมาใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี ค.ศ. 1951 จึงนับได้ว่า UNIVAC I เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ
วิวัฒนาการในยุคต่างๆ มาของคอมพิวเตอร์อยู่ที่ก้าวหน้าทางอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์และคิดค้นวิธีการสร้างหน่วยความจำแบบต่างๆ ระบบหน่วยความจำที่เกิดขึ้นและนำมาใช้ในเครื่อง UNINAC II คือ การใช้วงแหวนแม่เหล็ก (haynetic core) ซึ่งนับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และนำมาใช้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมในคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (ค.ศ. 1959- 1964)
เทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ได้แก่ อุปกรณ์
ที่เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์” (Transistor) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นด้วยฝีมือของนักฟิสิกส์ที่ศูนย์วิจัยเบลล์ เมื่อปี ค.ศ. 1948 และทรานซิสเตอร์ก็ได้เข้ามาแทนที่หลอดสูญญากาศที่ใช้อยู่ในวิทยุ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์
เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้กำเนิดขึ้นในสมัยคอมพิวเตอร์ยุคที่สองนี่เอง ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่ถูกออกแบบให้สามารถทำการคำนวณได้เร็วกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้หลายเท่า ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ ได้แก่ เครื่อง CDC 6600 ซึ่งสามารถประมวลผลได้ 3 ล้านคำสั่งใน 1 วินาที ลูกค้ารายสำคัญของซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ได้แก่ องค์กรของรัฐบาล และธุรกิจขนาดใหญ่
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (ค.ศ. 1965 – 1970)
การปฏิบัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกและครั้งสำคัญ ซึ่งนำไปสู่คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ได้แก่ การคิดค้น “วงจรเบ็ดเสร็จ” (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งได้แก่ สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ชิ้นเล็กๆ ที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะ (Losic circuit) ไว้ได้หลายวงจร วงจรเหล่านี้จะถูกพิมพ์ลงบนซิลิกอน (Silicon) และเราเรียกมันว่า “ชิป” (Chip)
ในปี ค.ศ. 1965 บริษัท Digital Equipment Corporation (DIC) ได้เปิดตัวมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรกออกมาด้วยขนาดและราคาที่ย่อมเยากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เพื่อมุ่งหวังจะให้เป็นรุ่นที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก อย่างไรก็ดีแนวการออกแบบมินิคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การที่ผู้ใช้สามารถทำงานโต้ตอบกับระบบได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างระบบได้อีกด้วย
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
จากอดีตที่ผ่านมานั้นค่อนข้างจะเห็นถึงการแบ่งคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจนโดยสรุปได้สั้นๆ ว่า ยุคที่หนึ่งเป็นยุคของหลอดสูญญากาศ ยุคที่สองเป็นยุคของทรานซิสเตอร์ และยุคที่สามเป็นยุคของวงจรเบ็ดเสร็จแต่ตั้งแต่หลังคอมพิวเตอร์ในยุคที่สามเป็นต้นมา วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้แก่ Altair 8800 ซึ่งจำหน่ายออกมาในรูปแบบของชุดเครื่องที่ผู้ใช้จะต้องนำมาประกอบและโปรแกรมให้ทำงานเอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 Stephen wozniak และ Steven Jobs ได้เปิดตัวเครื่อง Apple ในขณะเดียวกันกับที่บริษัท Radio shack ได้แนะนำเครื่อง TRS-80 ออกสู่ท้องตลาด เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จอภาพและภาษาโปรแกรมต่างๆ ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นยุคของเครื่อง Apple II เพราะนัยเป็นเครื่องที่มียอดขายสูงสุด
คอมพิวเตอร์มีอยู่ 5 แบบ
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High performaince computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้สามารถคำนวณเลขที่มีจุดทศนิยมด้วยความเร็วสูงมากขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิดแล้วอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี
2. เมนเฟรม (Mainframe) หมายถึงคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วหลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที จึงเหมาะสมกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจโดยเฉพาะงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้บุคลากรมากนักนอกจากนั้นยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย
4. สถานีงานวิศวกรรม (Engineering workstation) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานด้านวิศวกรรม เช่น การออกแบบ งานจัดการหน้าวารสาร และสิ่งพิมพ์หรืองานคำนวณที่ต้องการความเร็วสูง คำว่า “สถานีงาน” นั้นมีความหมายว่า เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วย พร้อมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนั้งทำงานต่างๆ ได้ครบโดยไม่จำเป็นต้องลุกจากที่นั่งไปยังใช้อุปกรณ์ในห้องอื่นๆ ด้วยเหตุนี้สถานีงานจึงเหมาะที่จะใช้ในหน่วยงานวิศวกรรม
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและใช้งานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แหละที่เป็นตัวการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในโลกของคอมพิวเตอร์คือทำให้เกิดความสนใจในเรื่องคอมพิวเตอร์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพและทุกวัยอย่างเช่น ในเมืองไทยนี้เองก็มีนายแพทย์จำนวนมากสนใจซื้อคอมพิวเตอร์มาศึกษาจนถึงขึ้นเขียนโปรแกรมขึ้นมาช่วยงานของโรงพยาบาลได้

ไม่มีความคิดเห็น: